Voice of an Information Educator in Thailand
  • Showcases
  • Blogs
  • Articles
  • Book Talks
  • Lectures
  • About Me

Authority concepts in RDA

30/9/2015

0 Comments

 

สอนอะไร สอนอย่างไร ในอาร์ดีเอ (RDA-Resource Description and Access) ตอนที่ 3

ผมขอกลับมาเล่าประเด็นที่ชวนขบคิดถัดมาสำหรับผู้สอนรายวิชาการจัดระบบสารสนสนเทศ ก็คือ แนวคิดด้านความถูกต้องของ “ชื่อ” หรือ “คำ” สำหรับใช้ค้นหาสารสนเทศ (Authority concepts) เช่น ชื่อเรียกที่เป็นทางการ ชื่อที่รู้จักกันทั่วไป คำที่คนทั่วไปใช้เรียก/ค้นหาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คำที่รู้จักและใช้เรียกกันเฉพาะในวงการนั้นๆ เป็นต้น

จุดเด่นข้อหนึ่งของการสอนมาตรฐานอาร์ดีเอ คือ มาตรฐานนี้ได้รวมเอาแนวคิดด้านความถูกต้องของ “ชื่อ” และ “คำค้น” เข้ามาอยู่ด้วยกันกับ “การสร้างระเบียน” สำหรับตรวจสอบ “ชื่อ” และ “คำค้น” ในบทเดียว ซึ่งเป็นสิ่งถูกต้องและสมเหตุสมผล

แต่เดิมมา มาตรฐานเอเอซีอาร์ (AACR) ที่ใช้กันอยู่ก่อนหน้านี้ได้แยก “การบันทึก” ออกจาก “การเลือก” ชื่อและคำค้นข้อมูล/สารสนเทศ อย่างสิ้นเชิง ซึ่งทำให้ระเบียนรายการของห้องสมุด (Catalogs) ตกอยู่ในสภาพของ “หนังสือ 1 เล่ม ต่อ 1 ระเบียน” ผู้สืบค้นไม่สามารถเห็นความสัมพันธ์ของแต่ละรายการที่เกี่ยวโยงกันได้ทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น วรรณคดีคลาสสิกอย่างรามเกียรติ์ที่ถูกนำมาแปลเรียบเรียงโดยนักแปลหลายต่อหลายคน หลายยุคหลายสมัย ถูกดัดแปลงให้เป็นการ์ตูน แอนิเมชั่น ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ ถูกนำมาตีความ/แปลความให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน หยิบยกเอาบางตอนขึ้นมาทำใหม่ ฯลฯ 

ตามมาตรฐาน AACR เมื่อสร้างระเบียนรายการเรื่อง รามเกียรติ์ เราก็จะสร้างระเบียนแยกตาม “ประเภท” ของทรัพยากรสารสนเทศ อาทิ หนังสือ สื่อโสตทัศน์ ภาพนิ่ง วารสาร อินเทอร์เน็ต เป็นต้น เมื่อแยกตามประเภททรัพยากร เราก็เลยสร้างระเบียนรายการห้องสมุดแบบ “ต่างกรรมต่างวาระ” ขึ้นมา ผู้ใช้จะค้นทีก็ค้นแบบ “เป็นครั้งๆ” ไป ยากที่จะค้นแบบ “เห็นภาพรวม” ทั้งหมดได้ในครั้งเดียว

เพื่อแก้ปัญหาตรงจุดนี้ มาตรฐานอาร์ดีเอจึงได้ปรับกระบวนการในการวิเคราะห์สารสนเทศสำหรับกำหนด “ชื่อ” และ “คำค้น” ขึ้นมาใหม่ ให้ครบวงจร ด้วยการรวมเอา 3 ขั้นตอน คือ การเลือก => การบันทึก =>  การระบุความสัมพันธ์ระหว่างชื่อและคำค้นต่างๆ ของแต่ละระเบียนที่มีต้นกำเนิดมาจากงานเดียวกัน เข้ามาไว้ด้วยกันนั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ หากเราสอนมาตรฐานอาร์ดีเอ ในหัวข้อแนวคิดด้านความถูกต้องของ “ชื่อ” และ “คำค้น” ผนวกกับ “การสร้างระเบียน” สำหรับตรวจสอบ “ชื่อ” และ “คำค้น” เพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างทรัพยากรสารสนเทศ สิ่งที่พึงตระหนักคือ หัวข้อนี้จะค่อนข้างแตกต่างจากการสอนตามมาตรฐาน AACR แบบเดิมเป็นอย่างมาก

Picture
Image source: http://www.bslw.com/authority_control/
0 Comments

RDA in LIS Eduacation: a CANADian Perspective

29/9/2015

0 Comments

 

สอนอะไร สอนอย่างไร ในอาร์ดีเอ (RDA-Resource Description and Access) ตอนที่ 1

อาร์ดีเอ คือ มาตรฐานเพื่อช่วยบรรณารักษ์ในการสร้างเครื่องมือค้นหาข้อมูล/สารสนเทศสำหรับผู้ใช้ห้องสมุด ให้สามารถหาข้อมูลนั้นๆ เจอ ช่วยระบุชี้ชัดได้ว่าเป็นข้อมูลที่ใช่ ช่วยในการตัดสินใจเลือกข้อมูลที่ต้องการ ช่วยบอกว่าผู้ใช้จะไปเอาข้อมูลนั้นๆ มาได้จากที่ไหน ฯลฯ

ยอมรับกันทั่วไปว่า เครื่องมือค้นหาข้อมูลที่จัดทำโดยห้องสมุด ไม่น่าใช้ เข้าใจยาก ไม่เหมือนกับโปรแกรมค้นหา (Search engines) ที่ผู้ใช้พบเจออยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน และคุ้นชินเสียแล้ว

การใส่ข้อมูลบรรณานุกรม และ/หรือเมทาดาทา (อภิข้อมูล) ตามมาตรฐานอาร์ดีเอ จนกระทั่งซอฟต์แวร์ระบบห้องสมุดอัตโนมัติสามารถจัดแสดงชุดข้อมูลออกมาในลักษณะที่ใกล้เคียงกับสิ่งที่ผู้ใช้เห็นและได้รับจากโปรแกรมค้นหา/ฐานข้อมูลออนไลน์บนอินเทอร์เน็ต จะช่วยให้เครื่องมือค้นหาข้อมูลของห้องสมุดดูน่าสนใจ โต้ตอบกับผู้ใช้สารสนเทศ และแสดงผลลัพธ์จากการสืบค้น (Query) ได้ดียิั่งขึ้น

ปี 2010 สหรัฐอเมริกาเริ่มทดลองนำมาตรฐานอาร์ดีเอมาใช้ในการสร้างเครื่องมือค้นหาข้อมูล

ปี 2013 ออสเตรเลียก็ทดลองนำมาตรฐานนี้มาใช้อย่างเด็มรูปแบบ

ปี 2015 บรรณารักษ์และนักสารสนเทศในบ้านเราต่างให้ความสนใจ และเริ่มทดลองนำมาตรฐานนี้มาใช้กันบ้างแล้ว

อาจกกล่าวได้ว่า วงการวิชาชีพบ้านเราขยับตัวรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างคึกคัก มีการพูดถึงประเด็นต่างๆ ทั้งในเชิงแนวคิด เทคนิควิธีการ และเทคโนโลยีที่รองรับมาตฐานอาร์ดีเอ อย่างกว้างขวาง ในการประชุม การสัมมนาต่างๆ
แต่ในมุมมองของผู้สอน (ตัวผู้เขียนเองด้วย smile emoticon ในฐานะผู้ให้การศึกษาและเตรียมความพร้อมแก่นิสิตที่จะต้องออกไปเป็นบรรณารักษ์วิเคราะห์สารสนเทศ (Cataloguers) "รุ่นบุกเบิก" หรือ "รุ่นอาร์ดีเอ" เราจะต้องเตรียมการสอน ออกแบบเนื้อหา และวางแผนการการสอนในหัวข้ออะไร และสอนอย่างไรบ้างนั้น ยังเป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันขบคิดพิจารณาต่อไป (แต่เหลือเวลาอีกไม่มากนัก เพราะผมต้องสอนภาคปลาย ปี 2558 นี้แล้ว 

การจัดการเรียน-การสอนเรื่องมาตรฐานการทำรายการใหม่ๆ น่าจะแตกต่างจากการลงมือปฏิบัติหรือการทำงานจริงอยู่บ้าง เพราะเราต้องหยุดรอให้พัฒนาการของมาตรฐาน "อยู่ตัว" คงที่ในระดับหนึ่งเสียก่อน


Picture
0 Comments

Will a LIBRARIAN be Taken Over by robotic automation within 20 years?

29/9/2015

0 Comments

 
Picture
Image source: BBC.com

ไม่ใช่มั้ง? ที่เขาจะนำหุ่นยนต์มาทำงานแทนบรรณารักษ์ทั้งหมด

ได้เห็น FACEBOOK feed เกี่ยวกับอาชีพในอีก 20 ปี ข้างหน้า ที่อาจนำระบบอัตโนมัติมาใช้แทนคนทำงาน แล้วใน post feed เห็นว่าบรรณารักษ์มีโอกาสตกงาน 97% ตามประสาคนขี้สงสัยแกมสนใจ เลยลองเข้าเว็บ http://www.bbc.com/news/technology-34066941 ดู น่าสนใจจริงๆ ครับ


แต่ที่จะแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง ก็คือ อาชีพ "บรรณารักษ์" Librarian ในสหราชอาณาจักร (ในบริบทของการวิจัยนี้) มีโอกาส 52% ที่จะนำระบบอัตโนมัติมาใช้แทนคนทำงานอย่างเต็มรูปแบบ จัดเป็นอาชีพเสี่ยงอยู่ในลำดับที่ 174 จากจำนวนทั้งหมด 366 อาชีพ ที่นำมาคำนวณกัน


ลำดับของอาชีพบรรณารักษ์ยังเสี่ยงถูก take over ด้วย automation "น้อยกว่า" อาชีพนักบัญชี ที่อยู่ในลำดับที่ 26 (95%) เสียอีกนะครับ


ส่วนความเสี่ยงที่ 96.7% ในลำดับที่ 15 จริงๆ แล้วเป็นอาชีพ "เจ้าหน้าที่ห้องสมุด" Library clerk นะครับ มิใช่ "บรรณารักษ์"


หากงานของคุณจำเป็นต้องอาศัยการเจรจาต่อรอง ให้ความช่วยเหลือและส่งต่องานไปยังผู้อื่น และต้องอาศัยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มากๆ คำตอบสุดท้าย คือ อาชีพของคุณปลอดภัยจากการนำ           หุ่นยนต์มาทำงานแทนคนแน่นอน

0 Comments

Let Libray Science Postgraduates study courses on Cataloging and Classification

28/9/2015

0 Comments

 
Picture
Image source: Pinterest.com

กลับมาเรียนแบบเดิมกัน: เรียนวิชาการทำรายการและการจัดหมวดหมู่กันเถอะ

(ปล. เป็นความคิดเห็นส่วนตัว มิได้เกี่ยวข้องกับหน่วยงานต้นสังกัดแต่อย่างใด)


สำหรับหลักสูตรสารสนเทศศึกษา (Information Studies) ระดับปริญญาตรียังคงมีวิชา "การจัดระบบ (ทรัพยากร) สารสนเทศ" ที่รวมเอา 1) การทำรายการ 2) การจัดหมวดหมู่ และ 3) การกำหนดหัวเรื่อง/คำค้น เข้ามารวมไว้ด้วยกันในวิชาเดียว!! แม้ว่าจะมีวิชา การจัดหมวดหมู่ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน เป็นวิชาเลือกอีก 1 วิชา แต่ก็แทบไม่ได้เปิดสอนเลย


ในหลักสูตบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ระดับปริญญาโท ไม่มีวิชาการทำรายการและจัดหมวดหมู่ "ขั้นสูง" อีกแล้ว จะมีก็แต่เพียงรายวิชาเลือก เมทาเดทาในงานสารสนเทศ (Metadata in Information Work) ที่เกี่ยวข้องอยู่บ้าง และก็เน้นที่การจัดระบบให้กับสารสนเทศดิจิทัลเป็นหลัก


วัฏจักรของการเรียน-การสอนวิชาการทำรายการและการจัดหมวดหมู่ คือ แยก-รวม-ยุบ => แยก (เกิดรายวิชาใหม่อีกครั้งหนึ่ง)
1) แยก เราเคยมีวิชาแยกต่างหากถึง 3 วิชา นั่นคือ การทำรายการ การจัดหมวดหมู่ และการวิเคราะห์เรื่อง (เพื่อกำหนดคำค้น/หัวเรื่อง)
2) รวม จากนั้นเราก็รวมเอา 3 วิชา มารวมเหลือเพียงวิชาเดียว ภายใต้ "การจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศ"
3) ยุบ ต่อมาก็พิจารณายุบวิชาที่เกี่ยวข้องกับงานเทคนิคออกทั้งหมด และไปเพิ่มรายวิชาที่เน้นทางด้าน "ระบบสารสนเทศ" (และฐานข้อมูล) แทน
4) แยกวิชา (อีกครั้ง) ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า เมทาดาทา = การทำรายการ, ศัพทาอภิธาน (Taxonomy) และออนโทโลยี (Ontology) = การจัดหมวดหมู่, การกำหนดป้ายกำกับ (Tagging) หรือการเลือกใช้คำค้นอย่างอิสระโดยตัวผู้ใช้สารสนเทศเอง (Folksonomy) = การกำหนดหัวเรื่อง


แต่ไม่ว่าจะเป็นเช่นไร วิชาการทำรายการและการจัดหมวดหมู่ก็ยังเป็นอัตลักษณ์ของนักเรียนวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์เสมอ เพราะเป็นรากฐานที่แสดงให้เห็นลักษณะเฉพาะในวิชาชีพห้องสมุดและสารสนเทศ ที่จัดหา จัดระบบ ให้บริการ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการ

0 Comments

Should our LIS Students Learn Both AACR & RDA at the Same Time?

24/9/2015

0 Comments

 
Picture
Image source: http://rdaincanada.wikispaces.com/

สอนอะไร สอนอย่างไร ในอาร์ดีเอ (RDA-Resource Description and Access) ตอนที่ 2

จะยังคงสอนมาตรฐานเดิม (Anglo-American Cataloguing Rules-AACR) อย่างเดียว หรือสอนมาตรฐานใหม่ (RDA) อย่างเดียว หรือสอนทั้งสองมาตรฐานเลย?


ผมเที่ยวเสาะแสวงหาแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมการสอนมาตรฐานอาร์ดีเอ สำหรับนิสิตปริญญาตรี (ที่มีใช่หนังสือ-เอกสารสำหรับฝึกอบรมบรรณารักษ์วิเคราะห์สารสนเทศ) แล้วก็มาเจอเอกสารนี่เข้า โอ้ว ...ใช่เลยที่เราหามานาน


http://rdaincanada.wikispaces.com/…/RDAintheCurriculumnotes…


วันที่ 15 มิ.ย. ปี 2012 นักวิชาการสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ในประเทศแคนาดา ได้ร่วมกันจัดการประชุมเพื่อสนทนาเกี่ยวกับมาตรฐานอาร์ดีเอในหลักสูตรสำหรับนักการศึกษาด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์โดยเฉพาะ



คำถามชวนขบคิดจากการประชุม คือ จะนำเอามาตรฐานอาร์ดีเอมาบรรจุไว้หลักสูตรอย่างไรกันดี จำนวนรายวิชาด้านาการทำรายการควรจะมีสักกี่วิชา และควรจะเป็นวิชาเลือกหรือวิชาบังคับ

เหนือสิ่งอื่นใด หลังการประชุมนี้ ได้เกิดประเด็นอภิปรายหลายประการที่รอให้ผู้สอนรายวิชาด้านการจัดระบบสารสนเทศนำไปพิจารณาต่อถึง 28 ประเด็นด้วยกัน ผมขออนุญาตนำเสนอประเด็นแรกก่อนเลย


AACR และ RDA นิสิตจำเป็นต้องรู้จักมาตรฐานทั้งสองอย่างพร้อมๆ กันด้วยหรือไม่? 
ประเด็นย่อยที่นำไปคิดต่อ ได้แก่


1. ผู้สอนคิดว่าบัณฑิตจะต้องประสบพบเจอกับอะไรภายหลังเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว (ทั้งเทคโนโลยี หลักการบริหารจัดการ สื่อดิจิทัลใหม่ๆ ฯลฯ)
2. อะไรคือความคาดหวังของนายจ้าง (เช่น คาดหวังว่าบัณฑิตจบใหม่ต้องสามารถดำเนินงานห้องสมุดโดยใช้มาตรฐานอาร์ดีเอได้)
3. ไม่ว่าห้องสมุดจะมีนโยบายเช่นไร บัณฑิตก็ต้องพบเจอกับระเบียนรายการ (Records) ที่จัดทำด้วยมาตรฐานเก่า มาตรฐานใหม่ หรือแบบผสานผสาน
4. หากฝ่าย/แผนกงานที่บัณฑิตทำงานอยู่นั้น มีขนาดใหญ่และตระหนักในเรื่องของมาตรฐาน อย่างไรเสียบัณฑิตของเราก็น่าจะได้รับการฝึกอบรมมาตรฐานใหม่ แต่หากต้องทำงานในฝ่าย/แผนกเล็กๆ บัณฑิตเราก็อาจไม่ได้รับการฝึกฝนเพิ่มเติม รวมทั้งถูกคาดหวังให้ต้องมีความรู้มาก่อนเพื่อที่จะทำอะไรต่อมิอะไรให้ฝ่าย/แผนกของตนเองได้
5. ระบบการทำรายการด้วยมาตรฐานทั้งแบบเก่าและแบบใหม่มีความคล้ายคลึงกันเสียจนอาจสร้างความสับสนให้แก่นิสิตที่ต้องเรียนรู้ระบบทั้งสองในเวลาเดียวกันได้
6. เป็นที่คาดหมายว่า หากนิสิตได้เรียนมาตรฐานอาร์ดีเอแล้ว พวกเขาก็น่าที่จะต้องดูแลจัดการระเบียนรายการที่ทำด้วยมาตรฐาน AACR ไปพร้อมๆ กันได้ด้วย ถ้านิสิตมีความตระหนักรู้ถึงความเหมือน-ความแตกต่างระหว่างมาตรฐานทั้งสอง


สำหรับผมแล้ว (ในฐานะของคนที่ห่างเหินจากการทำรายการจริงๆ มากว่า 15 ปี) ข้อ 2 กับ ข้อ 4 เป็นสิ่งที่คาดเดายากที่สุดเลยครับ


ครั้งหน้า ผมจะมาเล่าประเด็นในเรื่องของ แนวคิดในการควบคุมความถูกต้องของคำค้่น/การเข้าถึงสารสนเทศ (Access to information) กันต่อนะครับ

0 Comments
<<Previous

    Archives

    December 2015
    November 2015
    October 2015
    September 2015
    August 2015
    April 2015
    March 2015
    January 2015
    July 2014
    June 2014
    March 2014
    October 2013
    September 2013
    August 2013
    July 2013
    March 2013
    February 2013
    January 2013
    December 2012

    Categories

    All
    Book Lifecycle
    Book Trade
    Cataloguing And Classifcation
    Content Curation
    Content Marketing
    Cybersemiotics
    Department History
    Digital Dependence
    Digital Reposiotry
    IFLA Trend Report
    Information Architecture
    Information Studies Graduates
    Librarian Career
    LIS Education
    Masters Degree Application
    Memory
    Metadata
    My Students
    Organization Of Information
    PhD Programme
    Professional Knowledge And Skills
    RDA
    Reading
    User Experience
    Web Design

    RSS Feed

Powered by Create your own unique website with customizable templates.
  • Showcases
  • Blogs
  • Articles
  • Book Talks
  • Lectures
  • About Me