Voice of an Information Educator in Thailand
  • Showcases
  • Blogs
  • Articles
  • Book Talks
  • Lectures
  • About Me

Examples of Library & Information Professionals' Content Curation

5/10/2015

0 Comments

 

ตัวอย่าง "คนห้องสมุด" ที่ลุกขึ้นมาดูแลรักษาเนื้อหาดิจิทัลอย่างจริงจัง aka หน้าตาของการดูแลรักษาเนื้อหาดิจิทัลที่จัดทำโดยวิชาชีพห้องสมุดและสารสนเทศ จำแนกตามยี่ห้อของเครื่องมือ/แพล็ตฟอร์ม/ระบบดูแลรักษาเนื้อหาดิจิทัล ที่เป็นที่นิยมกันครับ

ยี่ห้อดังๆ ก็ได้แก่ Scoop.it, Paper.li, และ Pinterest ครับ

LIB GUIDE EXAMPLES:
Judy O’Connell's Revolutionising Libraries with Social Media.http://libraryschool.campusguides.com/socialmedia

Joyce Valenza's New Tools Guide. http://sdst.libguides.com/newtools

Joyce Valenza's TL Guides. http://libraryschool.campusguides.com/tlguidess

LIVEBINDERS EXAMPLES:
Joquetta Johnson's Public Shelf. http://www.livebinders.com/shelf/search_display_author?terms=Joquetta+Johnson

Carolyn Jo Starkey's School Librarians and the Common Core Standards.http://www.livebinders.com/play/play_or_edit?id=84777

SCOOP IT EXAMPLES:
Karen Bonnano's School Library Advocacy. http://www.scoop.it/t/school-library-advocacy

BJ Neary's Young Adult Novels. http://www.scoop.it/t/young-adult-novels

NEVERENDING SEARCH EXAMPLE:
A Few Good Scoops for Us. http://blog.schoollibraryjournal.com/neverendingsearch/2011/10/12/a-few-good-scoops-for-us/

PAPER.LI EXAMPLES: TLChat Daily. http://paper.li/tag/tlchat Carolyn Starkey's Common Core Daily. http://paper.li/carolynstarkey/1310443842

PINTEREST EXAMPLE: Syracuse iSchool. http://pinterest.com/ischoolsu/pins/

DELICIOUS STACKS EXAMPLE: Lyn Hay's. http://www.delicious.com/stacks/lyn_hay

ข้อมูลจาก: Joyce Kasman Valenza. "Curation." School Library Monthly/Volume XXIX, Number 1/September-October 2012 
http://www.schoollibrarymonthly.com/…/Valenza2012-v29n1p20.…

0 Comments

Content Curation from a School Librarian's Perspective

5/10/2015

0 Comments

 

การดูแลรักษาเนื้อหาดิจิทัลในมุมมองของบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน

บทความของครูบรรณารักษ์ Joyce Kasman Valenza แห่งโรงเรียนมัธยมปลาย Springfield Township High School เขียนลงในวารสาร School Library Monthly ฉบับที่ 1 (ก.ย.-ต.ค. 2012) ได้อธิบายพร้อมยกตัวอย่างแนวคิดหลักในการดูแลรักษา (Curation) เนื้อหาดิจิทัล ไว้อย่างน่าสนใจ แม้จะผ่านมา 3 ปีแล้วก็ตาม

Valenza เกริ่นในตอนต้นของบทความว่า การกลั่นกรองเนื้อหาดิจิทัลโดยมนุษย์ (ซึ่งก็คือฝีมือของบรรณารักษ์) มีข้อได้เปรียบกว่าการใช้โปรแกรม feed ข้อมูลอัตโนมัติ เพราะเนื้อหาดิจิทัลที่บรรณารักษ์ดูแลรักษานั้น เป็นเนื้อหาที่ผ่านการเสาะหาจากแหล่งต่างๆ ผ่านการบ่งชี้หาความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ (Relevance) ระหว่างเนื้อหานั้นๆ ผ่านการประเมินคุณค่าของสารสนเทศ ผ่านการจัดหมวดหมู่ ผ่านการจัดระบบ และผ่านการนำเสนอด้วยวิธีการที่เหมาะสม โดยนักสารสนเทศที่เชี่ยวชาญ จากนั้นจึงส่งตรงไปยังผู้ใช้เนื้อหาซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย กระบวนการที่ผ่านการพิจารณา-ตัดสินใจเลือกสรรเนื้อหาให้สอดคล้องกับบริบท (Contextualized) เช่นนี้ เป็นสิ่งที่ระบบแจ้งและนำเสนอข้อมูลดิจิทัลอัตโนมัติยังทำไม่ได้

นอกจากนี้ Valenza ยังได้อธิบายให้ผู้อ่านตระหนักในความสำคัญของการดูแลรักษาเนื้อหาดิจิทัล ที่มีต่อการเรียนการสอนในโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็น ...

การดูแลรักษาเนื้อหาในฐานะที่เป็นทักษะเพื่อชีวิตประจำวันและเพื่อการศึกษาเล่าเรียน

การดูแลรักษาเนื้อหาในฐานะเครื่องมือค้นหาสารสนเทศแบบใหม่

การดูแลรักษาเนื้อหาในฐานะที่เป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับคนรุ่นใหม่ที่อุปกรณ์ไอทีได้กลายเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิตที่ขาดไม่ได้เสียแล้ว

Valenza สรุปปิดท้ายบทความว่า ...

1) ถ้าหากเราต้องการให้ชุมชนที่ห้องสมุดให้บริการอยู่ มองบรรณารักษ์โรงเรียนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสารสนเทศและการสื่อสาร และเป็นมืออาชีพ

2) ถ้าหากเราต้องการให้ชุมชนโรงเรียนเข้าใจลึกซึ้งในขอบข่ายของโลกสารสนเทศร่วมสมัย และ

3) ถ้าหากเราต้องการให้คนรุ่นใหม่เติบโตไปโดยมีทักษะของการดูแลรักษาเนื้อหาดิจิทัลที่เกี่ยวพันกับชีวิตของเขา ติดตัวไปด้วย

สิ่งที่เป็นคำตอบสำหรับ 3 "ถ้า" และไม่มีทางเลือกอื่นมาทดแทนได้ ก็คือ การดูแลรักษาเนื้อหาดิจิทัล นั่นเอง

0 Comments

Content Curation 101 for Librarians

5/10/2015

0 Comments

 
Picture
Source: http://www.curata.com/blog/the-definitive-guide-to-content-curation/

Pawan Deshpande จากบริษัท Curata ได้แนะแนวทางการดูแลรักษาเนื้อหาดิจิทัล ไว้อย่างชัดเจน เข้าใจง่าย หากได้อ่านแล้ว น่าจะพอให้เกิด idea สำหรับปรับใช้ในงานสารสนเทศ ไม่มากก็น้อยครับ

ในเชิงธุรกิจแล้ว การทำ Content marketing จำเป็นต้องผสมผสาน "การดูแลรักษาเนื้อหาดิจิทัล" (Digital content curation) เข้าไปด้วยเพื่อทำให้องค์กรสามารถสื่อสารเนื้อหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการไปยังลูกค้าได้ตรงเป้าหมาย

"การดูแลรักษาเนื้อหาดิจิทัล" มีประโยชน์ในการเอื้อให้ลูกค้าเข้าถึงเนื้อหาได้ง่ายขึ้น สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่องค์กรในฐานะผู้นำทางความคิด (Thought leader) เป็นเครื่องมือในการเพิ่มจำนวนการเยี่ยมชมเว็บไซต์ และเป็นส่วนเสริมในการสร้างบทสนทนาระหว่างองค์กรกับลูกค้าผ่านสื่อสังคมและการเขียนบล็อก แม้แต่ วงการห้องสมุด สารสนเทศ และสื่อการอ่าน เราก็คงเห็น-อ่าน-ชม "การดูแลรักษาเนื้อหาดิจิทัล" ขององค์กร/
หน่วยงานบริการสารสนเทศ หรือแม้แต่ FB Posts ของผม (เกือบ) ทุกวัน ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว :-)

การดูแลรักษาเนื้อหาดิจิทัล คือ การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือทีมงานได้ทำการค้นหา จัดระบบ เรียบเรียงสาระสำคัญ (Annotate) และแบ่งปันเนื้อหาดิจิทัลที่มีคุณภาพสูง และมีความเกี่ยวพันอย่างยิ่งกับหัวข้อเฉพาะทางซึ่งกำลังเป็นที่สนใจในกลุ่มลูกค้าที่เป็นตลาดเป้าหมายของเรา กระบวนการ ค้นหา => จัดระบบ => เรียงเรียงเนื้อความขึ้นมาใหม่ให้กระชับ => เผยแพร่แบ่งปัน

รู้สึกคุ้นๆ ไหมครับ ว่ากระบวนการในการดูแลรักษาเนื้อหาดิจิทัลมันคล้ายกับงานอะไร? ใช่แล้วครับ งานห้องสมุด/งานสารสนเทศ นั่นเอง ซึ่งตอนนี้ ผมได้นำเอาหลักการและแนวปฏิบัติของการดูแลรักษาเนื้อหาดิจิทัล มาให้นิสิตปริญญาโทซึ่งกำลังเรียนรายวิชา การจัดการสารสนเทศและความรู้ ทดลองทำกันเป็น Term project

​

0 Comments

Presentation Slides on Metadata used in the digital repository "CU Arts & hrh the Princess sirindhorn

9/8/2015

0 Comments

 
0 Comments

    Archives

    December 2015
    November 2015
    October 2015
    September 2015
    August 2015
    April 2015
    March 2015
    January 2015
    July 2014
    June 2014
    March 2014
    October 2013
    September 2013
    August 2013
    July 2013
    March 2013
    February 2013
    January 2013
    December 2012

    Categories

    All
    Book Lifecycle
    Book Trade
    Cataloguing And Classifcation
    Content Curation
    Content Marketing
    Cybersemiotics
    Department History
    Digital Dependence
    Digital Reposiotry
    IFLA Trend Report
    Information Architecture
    Information Studies Graduates
    Librarian Career
    LIS Education
    Masters Degree Application
    Memory
    Metadata
    My Students
    Organization Of Information
    PhD Programme
    Professional Knowledge And Skills
    RDA
    Reading
    User Experience
    Web Design

    RSS Feed

Powered by Create your own unique website with customizable templates.
  • Showcases
  • Blogs
  • Articles
  • Book Talks
  • Lectures
  • About Me